• เปิดร้าน 11 มี.ค. 2559
  • ปรับปรุง 28 มี.ค. 2567
  • ผู้ชมทั้งหมด 27,636,416 คน
  • สินค้าทั้งหมด 12,902




14936 ขรัวอีโต้ วัดเลียบ กรุงเทพ เนื้อดินผสมผง 13

ข้อมูลสินค้า

  • 14936
  • id line. suerpra.com
  • 098-5678242
  • สินค้าใหม่
  • 2,186 คน
  • 1,200.00 ฿
  • 13 มิ.ย. 2562
  • 13 มิ.ย. 2562 06:03:56
  • www.surepra.com

จำนวน





รายละเอียดสินค้า

พระขรัวอีโต้ พระกรุวัดเลียบ กรุงเทพฯ

สัปดาห์พระเครื่อง/ราม วัชรประดิษฐ์

พระขรัวอีโต้ กรุวัดเลียบ 'พระรอดเมืองใต้' เป็นพระเครื่องเนื้อผงขนาดเล็ก เท่ากับพระรอดเลยเรียกกันว่า พระรอดเมืองใต้ พระขรัวอีโต้ กรุวัดเลียบ วัดเลียบ เป็นวัดเก่าแก่โบราณ มาได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 โดยกรมหลวงเทพหริรักษ์ สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ และพระราชทานนามใหม่ว่า 'วัดราชบูรณะ' ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระ พุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระอุโบสถและพระวิหารขึ้นใหม่ จากนั้นในรัชกาลต่อๆ มาก็โปรดให้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์และสร้างเสนาสนะต่างๆ ตลอดมา ณ วัดเลียบแห่งนี้มี 'พระกรุ' ซึ่งนับได้ว่าเป็นที่นิยมสะสมในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องพระบูชาอย่างกว้างขวาง ซึ่งปัจจุบันหาดูหาเช่าของแท้จริงๆ ค่อนข้างยาก เพราะเป็นพระกรุเก่าแก่และทรงพุทธคุณเป็นเลิศ

วัดเลียบ หรือวัดราชบูรณะ มีพระกรุที่มีชื่อเสียงเป็นที่นิยมอยู่ด้วยกัน 2 กรุ คือ พระขรัวอีโต้ลอยน้ำและพระวัดเลียบ ซึ่งมีประวัติความเป็นมา ดังนี้

พระขรัวอีโต้ลอยน้ำ หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า 'พระขรัวอีโต้' แตกกรุมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2473 เมื่อคราวรื้อพระเจดีย์ทรงมอญทางทิศตะวันตกของพระอุโบสถเพื่อตัดถนนตรีเพชร ปรากฏพระขรัวอีโต้ลอยน้ำจำนวนนับหลายหมื่นองค์พร้อมแผ่นทองแดงจารึกว่า 'สมเด็จพระศรีสมโพธิ์ราชครูกับนายทองด้วงมหาดเล็ก' เป็นผู้สร้างพระเครื่องนี้

นาม 'พระขรัวอีโต้ลอยน้ำ' มีประวัติเล่าสืบต่อกันมาว่า 'สมเด็จพระศรีสมโพธิ์ราชครูเป็นพระภิกษุในสมัยกรุงศรีอยุธยา และเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาแตกแก่พม่าเมื่อปี พ.ศ.2310 ท่านได้ถูกพม่ากวาดต้อนไปเมืองพม่าพร้อมญาติพี่น้องเป็นเวลาหลายปี ครั้นทราบว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้เอกราชได้และตั้งกรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวง ท่านจึงชวนน้องสาวเดินทางกลับเมืองไทย ระหว่างทางพอพลบค่ำก็เข้าไปนอนในกลดเดียวกันโดยเอามีดอีโต้ที่น้องสาวนำติดตัวมาเพียงเล่มเดียวคั่นกลางไว้ เช่นนี้เรื่อยมาจนถึงกรุงธนบุรี ท่านจึงถูกสอบสวน ท่านเล่าความจริงให้ฟังพร้อมเสี่ยงทายว่าถ้าท่านบริสุทธิ์จริงขอให้มีดอีโต้เล่มที่คั่นกลางนี้เมื่อขว้างลงน้ำแล้วไม่จมน้ำ ปรากฏว่าเมื่อท่านขว้างมีดอีโต้ลงน้ำ มีดเล่มนั้นลอยน้ำจริงๆ เป็นที่อัศจรรย์ปรากฏแก่สายตาชาวบ้าน จึงนำมาเรียกขานนามของพระเครื่องที่ท่านสร้างด้วยเหตุฉะนี้'

ต่อมาในช่วงสงครามอินโดจีนเมื่อปีพ.ศ.2483 พระขรัวอีโต้ลอยน้ำ ก็เป็นพระเครื่องหนึ่งในหลายๆ พิมพ์ซึ่งนำออกแจกจ่ายแก่ทหาร ตำรวจผู้ออกสู้รบเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจ ปัจจุบันไม่มีเหลือที่วัดเลียบเลย เพราะสูญหายไปหมดตั้งแต่คราวสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ.2488 ซึ่งวัดถูกภัยทางอากาศทำลายเสียหายเป็นอันมาก อีกกรุหนึ่งคือ 'พระวัดเลียบ' แตกกรุหลังพระขรัวอีโต้ลอยน้ำ คือในปี พ.ศ.2488 ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ครั้งนั้นวัดราชบูรณะถูกภัยทางอากาศพังพินาศหมดโดยเฉพาะพระอุโบสถ แต่เป็นปาฏิหาริย์ยิ่งนักที่ 'พระเทพนิมิต' ซึ่งเป็นพระประธานในพระอุโบสถ ขนาดหน้าตักกว้าง 4 ศอก ไม่ได้รับความเสียหายเลย จะมีก็เพียงฐานชุกชีที่เผยอขึ้นจนองค์พระเอนไปทางด้านหลังเท่านั้น และที่ใต้ฐานชุกชีนี้เองปรากฏพระเครื่องบรรจุอยู่เต็ม นอกจากพระที่ชาวบ้านทราบข่าวพากันเข้ามาเก็บไปเป็นจำนวนมากแล้ว ทางวัดยังสามารถรวบรวมได้อีกถึง 2 กระสอบ ขนานนามว่า 'พระวัดเลียบ'

พระวัดเลียบ เป็นพระเนื้อชิน มีทั้งปิดทองและไม่ปิดทอง ซึ่งถ้าพิจารณาตามหลักการพิจารณาพระเนื้อชินแล้ว จากการระเบิดแตกปริเป็นชั้นๆ ของเนื้อองค์พระ สันนิษฐานว่าอายุการสร้างเก่าแก่เป็นร้อยปีทีเดียว ประมาณการว่าน่าจะสร้างในคราวเดียวกับที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงสร้างพระอุโบสถ และในการสร้างครั้งนั้นมีการสร้างมากมายหลายพิมพ์ทรง ทั้งประทับนั่ง ประทับยืน อาทิ พิมพ์พระประธาน พิมพ์นาคปรก พิมพ์ห้ามญาติ พิมพ์ห้ามสมุทร พิมพ์ไสยาสน์ เป็นต้น

ต่อมาทางการได้ยุบวัดราชบูรณะเข้ารวมกับวัดสุทัศน์ซึ่งอยู่ใกล้เคียง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โสม) อดีตเจ้าอาวาสวัดสุทัศน์ เมื่อครั้งเป็นพระธรรมดิลก เจ้าอาวาสวัดราชบูรณะ และมาเป็นเจ้าอาวาสวัดสุทัศน์ใหม่ จึงได้นำพระวัดเลียบมาไว้ที่วัดสุทัศน์ด้วย จนเมื่อเจ้าประคุณสมเด็จฯ มรณภาพ และทางการได้ตั้งวัดราชบูรณะขึ้นใหม่ จึงย้ายพระวัดเลียบกลับมาไว้ที่วัดราชบูรณะดังเดิม แต่จำนวนที่เหลือมีน้อยมากครับผม

คำค้นหา



ชื่อผู้ถาม : *
เบอร์โทรศัพท์ ผู้ถาม : *
อีเมล์ ผู้ถาม : *
หัวข้อ : *
ข้อความ : *
คำถาม :
เปลี่ยนภาพ
คำตอบ : *